สมุนไพร ขัดผิว
สมุนไพรแก้ไอ

หัวข้อ

สมุนไพรแก้ไอ

สมุนไพรแก้ไอ อากาศเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว ทำให้คนป่วยด้วยโรคในระบบทางเดินหายใจ เป็นไข้บ้าง เป็นหวัด น้ำมูกไหล แต่อาการไม่สบายที่น่ารำคาญที่สุดก็คืออาการไอ ซึ่งมักจะมาพร้อมกับเสมหะเมื่อเราเป็นหวัดอยู่เสมอ หรือแม้แต่คนที่ไอแห้ง ๆ อมยาเพื่อช่วยให้ชุ่มคอก็ยังไม่หาย อีกทั้งยังไม่อยากกินยาแผนปัจจุบันเพราะกลัวจะเพิ่มภาระให้ตับและไต วันนี้กระปุกดอทคอมมีสมุนไพรแก้ไอ มาฝากค่ะ แถมสมุนไพรแก้ไอดังต่อไปนี้ ยังเป็นของดีที่น่าจะมีติดครัวกันอยู่บ้างสักชนิดแหละน่า

 

มะนาว สมุนไพรแก้ไอ 

 

สมุนไพรแก้ไอ มะนาวมีฤทธิ์เป็นกรดอินทรีย์ มีรสเปรี้ยว ช่วยบรรเทาอาการอักเสบในลำคอได้ โดยในตำรับยาไทยนิยมใช้ทั้งน้ำคั้นจากผลสด ผสมเกลือเล็กน้อย ดื่มน้ำอะไรแก้ไอ เติมน้ำอุ่นอีกสักหน่อย แล้วจิบแก้ไอ นอกจากนี้ยังมีการใช้ผลมะนาวแห้ง นำไปดอง แล้วจิบน้ำมะนาวดองเป็นยาขับเสมหะแก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เพราะในมะนาวมีวิตามินซีค่อนข้างสูงนั่นเอง

 

มะขามป้อม

 

มะขามป้อมอุดมไปด้วยวิตามินซีและสารกลุ่มแทนนิน แถมรสเปรี้ยวของมะขามป้อมยังช่วยละลายเสมหะและบำรุงเสียงได้ดี โดยหากต้องการใช้มะขามป้อมแก้ไอก็ทำได้ง่าย ๆ ด้วยการนำมะขามป้อมไปคั้นหรือต้มแล้วนำมาดื่ม ยาสมุนไพรแก้ไอคันคอ หรือจะนำมะขามป้อมไปอมกับเกลือเฉย ๆ ก็ได้ ซึ่งการอมมะขามป้อมนอกจากจะช่วยแก้ไอและละลายเสมหะแล้ว ยังทำให้เราชุ่มคอ และช่วยบำรุงเสียงให้ใส ป้องกันเสียงแห้งอีกด้วยค่ะ   

 

มะขาม

 

สารสำคัญในมะขามคือ กรดทาร์ทาริก (Tartaric) มีฤทธิ์บรรเทาอาการไอ แก้อักเสบ โดยวิธีใช้ก็เพียงนำฝักแก่ของมะขามเปียกมาจิ้มเกลือรับประทาน หรือนำมะขามเปียกมาต้มกับน้ำตาลและเกลือเล็กน้อย จะได้ยาขับเสมหะที่มีรสกลมกล่อม ทว่าเนื่องจากมะขามเปียกก็มีฤทธิ์เป็นยาระบายด้วย จึงไม่ควรรับประทานมากเกินไป เพราะเดี๋ยวจะถ่ายท้องนะคะ

 

กระเทียม

 

กระเทียมเป็นสมุนไพรรสเผ็ดร้อน ช่วยขยายทางเดินหายใจ ทำให้หายใจสะดวกขึ้น อีกทั้งกระเทียมยังมีฤทธิ์ช่วยลดอาการอักเสบ กระเทียมจึงเป็นสมุนไพรอีกตัวที่ช่วยบรรเทาอาการไอแบบมีเสมหะได้ โดยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไอมากขึ้น แนะนำให้ใช้กระเทียมและขิงสดอย่างละเท่ากัน ตำละเอียดแล้วละลายกับน้ำอ้อยสด เสร็จแล้วคั้นจนได้น้ำสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดมาจิบแก้ไอ ขับเสมหะ และทำให้เสมหะแห้ง หรือจะคั้นกระเทียมกับน้ำมะนาว แล้วเติมเกลือใช้จิบหรือกวาดคอก็ได้

 

พริกไทยดำ

 

พริกไทยดำมีความเผ็ดร้อน ช่วยขับลม ขจัดสิ่งขัดขวางทางเดินหายใจได้ดีเยี่ยม จึงทำให้จมูกโล่งและหายใจได้คล่องขึ้น แต่สูตรแก้ไอด้วยพริกไทยดำควรมีน้ำผึ้งเป็นตัวช่วยด้วย เนื่องจากน้ำผึ้งมีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะชนิดอ่อน ช่วยฆ่าเชื้อโรคและแบคทีเรีย สูตรนี้จึงเหมาะมากกับคนที่มีอาการไอแบบมีเสมหะและมีน้ำมูก วิธีชงก็ไม่ยาก เพียงแค่ผสมพริกไทยดำสับละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ ในน้ำร้อนจัด 1 แก้ว จากนั้นก็เติมน้ำผึ้งแท้ลงไป 2 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน เสร็จแล้วก็ปิดฝาแก้วทิ้งไว้ 15 นาที กรองเอากากออกแล้วก็ดื่มทันที อาการไอแบบมีเสมหะก็จะหายไป แต่สูตรนี้ไม่เหมาะกับอาการไอแห้งนะคะ

 

สับปะรด

 

สับปะรดจัดเป็นผลไม้ฉ่ำน้ำที่มีรสหวานอมเปรี้ยว ช่วยเพิ่มความชุ่มคอในคนที่มีอาการไอแห้ง ๆ โดยถ้ามีอาการเจ็บคอร่วมด้วยอาจดื่มน้ำสับปะรดผสมเกลือเล็กน้อย หรือจะกินสับปะรดเป็นชิ้น ๆ จิ้มเกลือก็ได้เช่นเดียวกัน ทว่าหากยังท้องว่าง ไม่ได้กินอะไร ก็อย่าเพิ่งกินสับปะรดนะคะ เพราะเอนไซม์ในสับปะรดอาจกัดกระเพาะเอาได้ ดังนั้น กินสับปะรดแก้ไอหลังมื้ออาหารจะดีที่สุด ได้ทั้งบรรเทาอาการคอแห้ง ไอแห้ง ๆ อีกทั้งยังได้เอนไซม์ในสับปะรดช่วยย่อยอาหารให้ด้วย 

 

มะแว้งต้น/มะแว้งเครือ

 

มะแว้งต้นหรือมะแว้งเครือ เป็นสมุนไพรที่มีวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี และมีสารสำคัญคือ อัลคาลอยด์ ชนิดโซลาโซดีน (Solasodine) และโซลานีน (Solanine) ซึ่งเป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทและระบบการหายใจ จึงช่วยบรรเทาอาการไอได้ นอกจากนี้ในผลมะแว้งต้นและมะแว้งเครือยังมีสารลิกนิน (Lignin) และซาโปนิน (Saponin) ซึ่งทำหน้าที่เหมือนยาปฏิชีวนะช่วยระงับการอักเสบและละลายเสมหะได้ดีโดยการใช้มะแว้งแก้ไอตามตำรับยาแผนโบราณจะใช้ผลมะแว้งสด 5-6 ผล ล้างให้สะอาด นำมาเคี้ยวอมไว้ กลืนเฉพาะน้ำจนหมดรสขมแล้วคายกากทิ้ง หรือจะกลืนทั้งน้ำและเนื้อก็ได้ หรือจะใช้ผลแก่สด 5-10 ผล นำมาโขลกพอแหลก คั้นเอาแต่น้ำ เติมเกลือเล็กน้อย ใช้จิบบ่อย ๆ เวลาไอ สำหรับเด็กจะใช้น้ำที่คั้นจากผลมะแว้ง เป็นน้ำกระสายยา กวาดคอแก้ไอและขับเสมหะทว่าในปัจจุบัน องค์การเภสัชกรรมสานต่อภูมิปัญญาไทย ผลิต “ยาอมมะแว้ง” เป็นยาสามัญประจำบ้านและบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยนำตำรับยาประสะมะแว้งมาพัฒนาแล้วผลิตตามกระบวนการมาตรฐาน GMP ตั้งแต่การคัดเลือกและตรวจสอบวัตถุดิบ จนได้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป มีการควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิตเช่นเดียวกับยาแผนปัจจุบัน นอกจากนี้ยังผ่านการฆ่าเชื้อด้วยรังสีแกมมาตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก (WHO) แล้วตรวจสอบไม่ให้มีเชื้อที่ทำให้เกิดโรคปนเปื้อน คือ Pathogenic bacteria 4 ชนิด (E. coli, S. aureus, P. aeruginosa, Salmonella) รวมทั้งยีสต์และเชื้อราด้วย จึงจะนำออกวางจำหน่ายได้

 

บทความที่แนะนำ